[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
 

งานพื้นฐาน

 หลักสูตร กศน.2551 ได้พัฒนามาจากหลักสูตร กศน. พ.ศ. 2544  อันเนื่องมาจากได้มี พรบ.กศน. พ.ศ.2551 เกิดขึ้น จึงต้องพัฒนาหลักสูตร โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีศักยภาพในการประกอบอาชีพ การศึกษาต่อ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุข   กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปที่ไม่อยู่ในระบบโรงเรียน

          โครงสร้างหลักสูตร มี 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย

          สาระการเรียนมี 5 สาระ คือ 1) สาระทักษะการเรียนรู้  2)สาระความรู้พื้นฐาน 3)สาระการประกอบอาชีพ 4)สาระทักษะการดำเนินชีวิต 5) สาระการพัฒนาสังคม

        มีกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม

        เวลาเรียน ใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน  ยกเว้นกรณีมีการเทียบโอนผลการเรียน

       หน่วยกิต  ใช้เวลาเรียน 40 ชั่วโมง มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต  โดยแยกเป็นแต่ละระดับ คือ

       ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต

      วิธีการจัดการเรียนรู้ มี 7 รูปแบบ คือ  1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง  2) การเรียนรู้แบบพบกลุ่ม  3) การเรียนรู้แบบทางไกล  4)การเรียนรู้แบบชั้นเรียน (ร.ร.ผู้ใหญ่)  5) การเรียนรู้ตามอัธยาศัย  6)การเรียนรู้จากการทำโครงงาน  7)การเรียนรู้รูปแบบอื่น ๆ ตามความต้องการ

       สื่อการเรียนรู้  เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อบุคคล ภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชนนั้น ๆ สื่อที่ครู หรือผู้เรียนสร้างขึ้นเองก็ได้

 

       การวัดและประเมินผลการเรียน  คือ 1)การวัดและประเมินผลรายวิชา  2)การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง  3) การประเมินคุณธรรม  4)การประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ

คุณสมบัติของผู้สมัคร
       1. สัญชาติไทย หรือคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยหลักฐาน
           วัน เดือน ปีเกิด ในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๕
       2. เป็นผู้พ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
            ระดับประถมศึกษา ไม่จำกัดพื้นความรู้
            ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ต้องสอบได้วุฒิประถมศึกษาหรือเทียบเท่า
            ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ต้องสอบได้วุฒิมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า30          
วิธีการเรียนรู้
        1. การเรียนรู้จากกลุ่ม 
        2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง 
        3. การเรียนรู้จากการเสริมความรู้ 
        4. การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง 
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
      1. การวัดและประเมินผลหมวดวิชา
      2. การประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต
      3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
      4. การประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน
การเทียบโอนผลการเรียน 
        ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษา การเรียนรู้หรือจากการทำงาน การประสบการณ์ 
ชีวิตหรือจากการประกอบอาชีพ มาเทียบโอนเป็นผลการเรียนตามหลักสูตรได้
เวลาเรียน 
        ใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียนยกเว้นกรณีที่เทียบโอนผลการเรียน สามารถจบหลักสูตรก่อนได้การลงทะเบียน 
ทุกระดับการศึกษา ลงทะเบียนภาคเรียนละไม่เกิน 2 หมวดวิชา กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน  1 หมวดวิชา กลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์ 
  • 1   หมวดวิชา

 


เข้าชม : 2999
 
 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอกุยบุรี
ที่อยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77150 เบอร์โทรศัพท์
0 3268 2446  เบอร์แฟ็กซ์ 0 3268 2446

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี