การเตรียมตัวก่อนน้ำท่วม
การเตรียมพร้อมโดยการไม่ประมาทอาจช่วยบรรเทาความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินที่อาจเกิดขึ้นได้ การทำความทำความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำท่วม โดยการสอบถามหน่วยงานใกล้บ้านที่มี
- การบริหารจัดการด้านน้ำท่วมด้วยคำถามดังต่อไปนี้
- ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปี เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไร
- เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่
- เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่
- เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร
- ถนนเส้นใดบ้าง ในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง
การทำแผนรับมือน้ำท่วม
ในสถานการณ์ฉุกเฉินการได้จัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้นึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นอย่างครอบคลุม โดยการจดบันทึกตามลำดับก่อนหลัง เช่น จดบันทึกตามการจัดวางสิ่งของภายในบ้าน เพื่อให้สามารถเก็บสิ่งของได้อย่างครบถ้วน หรือการจดบันทึกสิ่งที่ต้องทำเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ที่สำคัญคือ การบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผน
นอกจากนี้หน่วยงานและองค์กรทุกฝ่ายควรมีการเตรียมความพร้อมที่จะวางระบบศูนย์เตือนภัย สร้างเครือข่ายเตือนภัย จัดเครื่องมือสื่อสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกสถานการณ์ เช่น วิทยุสื่อสาร เป็นต้น มีการทำแผนชุมชนในการรับมือน้ำท่วม ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุ จัดเตรียมกำลังคนรับผิดชอบในชุมชน อาสาสมัครกู้ภัย จุดอพยพจุดสื่อสารข้อมูล จุดรับส่งอาหารโดยมีเรือของชุมชน เป็นต้น
แน่นอน ในสถานการณ์ฉุกเฉิน การบริหารเวลาเป็นสิ่งจำเป็น เวลาเล็กน้อยหลังการเตือนภัยทำให้ต้องมีการเตรียมแผนงานอย่างรัดกุม ดังนี้
- สัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์
- รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลงโดยสถานที่ แรกให้อยู่ ใกล้บริเวณบ้านและอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง
การรับมือระหว่างน้ำท่วม
สิ่งที่ควรรู้ในการป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน
- น้ำสามารถผ่านเข้ารอบๆประตู และช่องว่างของอิฐได้
- หากน้ำท่วมสูงมาก น้ำจะสามารถไหลย้อนกลับเข้าบ้านทางท่อในห้องน้ำและท่ออ่างล้างหน้าได้
- น้ำสามารถซึมผ่านรอยร้าวและรอยต่อของกำแพงได้
- น้ำสามารถซึมผ่านขึ้นมาจากพื้นชั้นล่างได้
- น้ำสามารถผ่านเข้าทางรอยร้าวและรอยต่อรอบสายไฟ หรือสายโทรศัพท์ที่เจาะผ่านกำแพง
- น้ำสามารถไหลย้อนเข้าทางท่อระบายน้ำทิ้งได้
การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ภายนอกบ้าน
- ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล
- ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม
- ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสายโทรศัพท์
สิ่งที่ควรทำหลังจากที่ได้รับการเตือนภัยน้ำท่วม
1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถแจ้งข่าว
2. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันและคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฏิบัติ ดังนี้
- ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วสุดเท่าที่จะทำได้
- อย่าพยายามนำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด
- อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณน้ำหลาก
3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว
4. ถ้ามีการเตือนภัยการเฝ้าระวังน้ำท่วมจะยังมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม
5. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง ควรปฏิบัติดังนี้
- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊ส
- อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล่างจาน
- พื้นที่ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน
- อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่ออยู่นอกบ้าน
- ล็อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง
- ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจากวิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับสถานที่หลบภัยของหน่วยงาน
6. หากที่พักอาศัยไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึง ควรศึกษาวิธีการที่ทำให้ความปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน
7. หากที่พักอาศัยไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน
- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน
- ปิดแก็สหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก็ส
- เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน
- ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถึงบ้าน
ปฏิบัติตนให้ปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้านระหว่างน้ำท่วม
- ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อบ้านถูกน้ำท่วม
- อุปกรณ์บางอย่างอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ฉะนั้นควรปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อบ้านถูกน้ำท่วม และห้ามใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกน้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นนั้นแห้งสนิท ไม่ชำรุด เพราะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้
- ระวังสัตว์อันตราย สัตว์อันตราย เช่น งู ตะขาบ อาจจะหนีน้ำเข้ามาในบ้าน จึงต้องมีการตรวจสอบความเรียบร้อยภายในบ้านในระหว่างน้ำท่วม
- ระวังแก๊สรั่ว หากได้กลิ่นแก๊สให้อยู่ห่างๆ ไว้ อาจจะลองใช้ไฟฉายส่องดู เพื่อเช็คความเสียหาย และห้ามสูบบุหรี่หรือจุดไฟจนกว่าจะปิดแก๊สหรือระบายอากาศในพื้นที่แล้ว เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
- ทำความสะอาดทุกอย่างที่เปียกน้ำน้ำท่วมมีสิ่งปฏิกูลและสารอันตรายเจือปน ห้ามบริโภคทุกสิ่งที่สัมผัสน้ำ ส่วนเครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาใช้ เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่มาจากน้ำท่วม
ที่มา: บริษัทซอฟท์บิสพลัส
การป้องกันไฟฟ้าดูดเสียชีวิตช่วงน้ำท่วม
ในช่วงเกิดอุทกภัยพบว่า นอกจากการเสียชีวิตจากการจมน้ำแล้ว สิ่งที่ควรระมัดระวังอีกเรื่องหนึ่ง คือ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า จึงควรปฏิบัติ ดังนี้
ข้อควรระวัง
1. สำรวจสายไฟฟ้า ปลั๊กไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งในระดับต่ำ ต้องรีบย้ายให้สูงพ้นระดับน้ำ
2. ถ้าน้ำท่วมปลั๊กไฟแล้ว ให้รีบปลดคัทเอาท์ทันที
3. ให้ตรวจสอบสายไฟที่แช่น้ำ เพราะอาจมีกระแสไฟฟ้ารั่วได้
4. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้เสาเหล็กที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้า ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าย้ายไม่ทัน ถูกน้ำท่วมแล้วควรหยุดใช้งานจนกว่าจะได้รับการ
ตรวจสอบสภาพเสียก่อน
5. ตรวจสอบสววิตซ์ไฟฟ้าว่ามีน้ำเข้าหรือถูกฝนสาดหรือไม่ถ้าเปียกน้ำอย่าแตะต้องอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ
6. ห้ามใช้เครื่องไฟฟ้าที่โดนน้ำท่วมแล้ว ควรตรวจสอบก่อน
7. อย่าแตะสวิทซ์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กอยู่ ในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียกๆ
8. เมื่อเกิดน้ำท่วมในบ้านต้องตัดการจ่ายไฟทันที
9. งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดขณะเกิดน้ำท่วม
การช่วยเหลือขณะเกิดเหตุ
1. เมื่อพบคนถูกไฟฟ้าดูด จะต้องตัดการจ่ายไฟทันที (สับคัตเอาท์หรือเต้าเสียบ) เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าก่อนจะเข้าไปช่วยเหลือ
2. หากไม่สามารถสับสะพานไฟลงได้ ห้ามใช้มือไปจับต้องคนที่กำลังถูกไฟฟ้าดูด
3. ผู้ที่จะเข้าไปช่วยร่างกายต้องไม่เปียกน้ำและสวมรองเท้า และต้องไม่สัมผัสผู้ถูกไฟฟ้าดูดโดยตรง
4. ยืนในที่แห้งและใช้ไม้แห้งหรือฉนวนไฟฟ้าเขี่ยอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นจากผู้ที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดหรือใช้ผ้าแห้ง/เชือกดึงผู้ป่วยออกจากจุดที่เกิดเหตุโดยเร็ว
5. เมื่อช่วยผู้ถูกไฟฟ้าดูดหลุดออกมาแล้ว ให้รีบปฐมพยาบาล ถ้าหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปาก ช่วยหายใจ หากคลำชีพจรไม่ได้ ให้นวดหัวใจ
6. รีบส่งโรงพยาบาลทันที หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669
สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข www.thaicd.com
การปฏิบัติภายหลังน้ำท่วม
ขั้นตอนการปฏิบัติหลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม
ขั้นตอนที่ 1 เอาใจใส่ตัวเอง
1. ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยี่ยวยารักษาได้ดี
2. พูดคุยปัญหากับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวลจะช่วยให้ได้ระบายและผ่อนคลายความเครียด
3. ผักผ่อนและกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เพราะความเครียดจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ
4. จัดลำดับสิ่งที่จำเป็นต้องทำก่อนหลัง และทยอยปฏิบัติอย่างมีสติ
5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าจนเกินที่จะรับมือได้
6. ดูแลบุตรหลาน ทั้งทางกายและจิตใจ อย่าตำหนิเด็กที่มีพฤติกรรมแปลก ๆ หลังจากน้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้ง หรือเกาะเกี่ยวผู้ปกครองอยู่ตลอดเวลา พึงระลึกอยู่เสมอว่าเด็กก็เพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต
7. ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่เคยน้ำท่วม
ขั้นตอนที่ 2 การจัดการดูแลบ้าน
สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับสู่ภาวะปกติ คือ การตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ติดตามการรายงานสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
2. ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหาย และซ่อมแซมทรัพย์สินต่าง ๆ
3. เดินตรวจตรารอบบ้าน และตรวจสอบสายไฟฟ้า สายถังแก็ส กลิ่นจากแก็สจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีแก็สรั่วหรือไม่หากมีกลิ่นแก็สให้รีบโทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
4. ปิดวาล์วแก็สให้สนิท ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้บริเวณดังกล่าว หากได้กลิ่นแก็สรั่ว
5. ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้าง ตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้างทุกอย่างปลอดภัย
6. ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน
7. เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง และอย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ
8. ถ่ายภาพความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน (ถ้ามี)
9. เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ
10. เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตู เพื่อระบายอากาศ และตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างพื้น
ฐานของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
11. ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย
12. เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน
13. ตรวจหารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำ ถ้าพบให้ปิดมิเตอร์น้ำ และไม่ควรดื่มและประกอบอาหารด้วยน้ำจากก๊อกน้ำ จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย
14. ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้า ๆ เนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรือพื้นห้องใต้ดิน
15. กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำ เนื่องจากเชื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน
ขั้นตอนที่ 3 การประสานงานกับหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง
ก่อนที่จะพยายามทำความสะอาดและซ่อมแซมทุกอย่าง ควรประเมินความเสียหายและทำตามแผนที่วางไว้ ตามขั้นตอนดังนี้
1. เรียกบริษัทประกันภัย และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อพิจารณาความเสียหาย
2. ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างอาคารบ้านเรือน
3. ทำแผนบูรณะซ่อมแซมเกี่ยวกับความเสียหาย เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม
4. เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก
เข้าชม : 1710
|